อบต.เมืองน้อย อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

คำขวัญ อบต.เมืองน้อย >>>เมืองน้อยพัฒนา การศึกษาก้าวไกล เศรษฐกิจสดใส ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
หัวข้อ:: กู่กาสิงห์

        ที่มาก่อนจะมาเป็นบ้านกู่กาสิงห์และกู่สถานโบราณที่ท่องเที่ยวประจำหวัดร้อยเอ็ดมีชื่อว่าบ้านกู่กาสิงห์และอีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งอยู่ห่างกัน12กิโลเมตรทั้ง2หมู่บ้านนี้เป็นหมู่ที่ทำมาหากินแข่งขันกันหมู่บ้านกู่กาสิงห์ขึ้นอำเภอเกษตรวิสัยอยู่ติดเขตแดนต่อแดนของอำเภอสวรรณภูมิบ้านกู่พระโกนาขึ้นอำเภอสุวรรณภูมิซึ่งหมู่บ้านนี้มีแต่ผู้หญิงเป็นส่วนมาก ส่วนบ้านกู่กาสิงห์ก็มีผู้ชายเป็นส่วนมากเหมือนกัน อาชีพทั้งสองหมู่บ้านก็เป็นอาชีพทำไร่ไถนา บ้านกู่กาสิงห์และบ้านกู่พระโกนาเป็นหมู่บ้านมีอาณาเขตทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากเนื้อที่กว้างไกลหลายพันไร่ แต่สมัยก่อนทุ่งกุลาที่อยู่ในเขตบ้านกู่กาสิงห์ จะไม่มีต้นไม้เลย เพราะแห้งมากผู้คนอดอยากส่วนบ้านกู่พระโกนาเป็นหมู่บ้านที่มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะต้นยาง(ไม้เนื้อแข็ง)เป็นป่าไม้หนาและต้นสูงมาก ทั้งสองหมู่บ้านทำมาหากินแข่งกันทุกเรื่องต่อมาวันหนึ่งทั้งสองหมู่บ้านทะเลาะกันอย่างรุนแรง จึงได้ท้าพนันกันและตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายจะสร้างกู่ประจำหมู่บ้านเพื่อไว้เป็นอนุสรณ์สถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนาเวลาเข่งขันต้องเป็นเวลากลางคืนเท่านั้น
         หมู่บ้านกู่พระโกนาอยู่ทางทิศตะวันออกขึ้นเขตสุวรรณภูมิ ส่วนบ้านกู่กาสิงห์อยู่ทางทิศตะวันตกขึ้นเขตอำเภอเกษตรวิสัย และกติกาการแข่งขันก็ตกลงกันว่าเริ่มแข่งขันตั้งแต่หัวค่ำจนกว่าตะวันขึ้นโพล่พ้นขอบฟ้า ตะวันขึ้นเมื่อไหร่ก็ให้หยุดสร้างกู่ทันทีใครสร้างเสร็จในกำหนดเวลาก่อนฝ่ายนั้นชนะ กู่กาสิงห์จะมีแต่ผู้ชายที่สร้าง แต่กู่พระโกนาจะมีแต่ผู้หญิงจนสร้างกู่พระโกนา จนมาถึงวันแข่งขันทั้งสองฝ่ายก็เกณฑ์ชาวบ้านออกมาช่วยกันสร้างกู่เต็มที่เพื่อต้องการชัยชนะ จนใกล้กำหนดวันแข่งขัน ซึ่งมีเวลากำหนด 15 วันตามวันข้างขึ้น พอฝ่ายใดเห็นดวงจันทร์ขึ้นในวันสุดท้ายต้องหยุดการสร้างกู่ทันที่ แต่ฝ่ายสร้างกู่พระโกนาก็ใช้แผนโยการนำตะเกียงมีไฟส่องสว่างมากจนเหมือนพระจันทร์เต็มดวง ไปไว้บนต้นยางใหญ่และสูงที่สุด ฝ่ายสร้างกู่กาสิงห์คิดว่าเป็นวันสิ้นสุดการสร้างเลยหยุดสร้าง ส่วนฝ่ายสร้างกู่พระโกนาก็สร้างต่อจนเสร็จตามกำหนดวัน กู่กาสิงห์เป็นฝ่ายแพ้ในการสร้างกู่เนื่องสร้างหยุดสร้างกลางคัน หินที่ใช้สร้างกู่มีรูทุกก้อนเพราะคนสมัยก่อน ชาย-หญิงเป็นคนแปดศอกนำไม้มาเซาะก้อนหินให้เป็นรูเพื่อจะได้หาบมาสร้างกู่ได้
จากนั้นมาก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "กู่กาสิงห์”
        เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลป์แบบเขมร สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดจากการศึกษาลวดลายหน้าบัน ทับหลังและลวดลายอื่นๆ ทราบว่าตรงกับสมัยศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราว พ.ศ. 1550   -   1630   การเรียกชื่อ โดยทั่วไปยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าขอมเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่าอย่างไร แต่ภาษาที่ใช้เรียกชื่อเป็นภาษาไทย จึงเชื่อว่าคำว่า
       "กู่กาสิงห์”เป็นคำที่คนไทยลาวได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยคำว่ากู่เป็นคำที่ใช้เรียกโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายสถูปหรือเจดีย์เก่าแก่ในอีสานตอนกลาง คำว่ากาน่าจะมาจากรูปพระยาครุฑหรือนกอินทรีย์ที่เคยปรากฏอยู่ที่กู่นอกจากนี้คำว่ากายังเป็นคำในภาษาถิ่นตรงกับคำในภาษาไทยกลางคือคำว่าตราซึ่งแปลว่าเครื่องหมาย ส่วนคำว่าสิงห์ เป็นคำใช้เรียกรูปประติมากรรมสิงห์ที่เคยมีตั้งไว้ประตูทางเข้ากู่ ดังนั้นกู่กาสิงห์จึงหมายถึงโบราณสถานที่มีรูปกาและ สิงห์เป็นเครื่องหมาย

ที่มา  :  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ : 9 พฤศจิกายน 65   View : 189